วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การเลี้ยงปลาดุก

การเลี้ยงปลาดุก

ปลาดุก แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ คือ ปลาดุกน้ำจืด และปลาดุกทะเล
ปลาดุก จะมีลักษณะเป็นปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด 4 เส้นที่ริมฝีปาก ผิวหนังมีสีน้ำตาล บริเวณครีบด้านลำตัวทั้งสองข้างมีเงี่ยงแหลมคมใช้เป็นอาวุธเพื่อยักศัตรู เนื้อมีสีเหลือง

การเพาะพันธุ์ปลาดุก
บ่อเพาะพันธุ์ควรมีเนื้อที่ตั้งแต่ 4ไร่ถึง 20 ไร่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีคันบ่อสูงกว่าพื้นดินประมาณ 50 ซม. ลึกประมาณ 1.25 เมตร กว้าง 3เมตร คูนี้จะใช้เป็นที่เพาะเลี้ยงแม่พันธุ์ ภายในบ่อจะขุดร่องเล็ก ๆ ลึกประมาณ 50 ซม. แบ่งท้องนาออกเป็นแปลงยาว ๆหลาย ๆ แปลงแต่ละแปลงกว้างประมาณ 3เมตร บนแปลงนาเหล่านี้เกษตรกร จะขุดหลุมเส้นฝ่าศูนย์กลางประมาณ 25 ซม.ลึก 25 ซม. ห่างกันหลุมละประมาณ 1เมตร และปล่อยให้หญ้าขึ้นเองตามธรรมชาติ

วิธีการเพาะพันธุ์
การปล่อยพ่อแม่พันธุ์จะปล่อยในอัตราส่วน 100 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ400-600 ตัว/ไร่
ฤดูกาลเพาะจะเริ่มในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูหนาว สูบน้ำเข้าบ่อให้ท่วมพื้นที่บ่อประมาณ 25-30 ซม. พ่อแม่พันธุ์จะขึ้นมาวางไข่ที่หลุมที่เตรียมไว้ และจะเฝ้าดูแลตัวอ่อนอยู่ในหลุม ลูกปลาจะอยู่ในหลุมจนประมาณ 10 วัน ก็จะเริ่มออกจากหลุมดังนั้นเมื่อสูบน้ำเข้าประมาณ 9-10 วันต้องรีบจับลูกปลา

นอกจากนั้นควรมีการโรยปูนขาวด้วยเป็นครั้งคราว การเพาะครั้งต่อไป จะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไปเป็นเวลาประมาณ 12-14 วันแล้วจึงสูบน้ำเข้าบ่อเพื่อเริ่มการเพาะครั้งต่อไป โดยปกติจะจับลูกปลาได้ประมาณ 1,000ตัว/หลุมหรือ20,000-350,000ตัว/ไร่ ถ้าผลิตได้ต่ำกว่า 100,000ตัว/ไร่ติดต่อกัน ควรตรวจดูปริมาณพ่อแม่พันธุ์ว่ามีมากหรือน้อยเกินไป หรืออาจจะเปลี่ยนพ่อแม่พันธุ์ทั้งชุดเลยก็ได้
การอนุบาลลูกปลา ลูกปลาที่มีขายในท้องตลาดจะมี 3ขนาดคือ 1-1.2 ซม.เป็นลูกปลาที่มีอายุ8-12 วัน ซึ่งตักตรงมาจากบ่อ ลูกไรนี้หากอนุบาลประมาณ 2สัปดาห์จะได้ลูกปลาขนาด 3-4 ซม.เรียกว่าปลาคว่ำบ่อ ซึ่งเป็นที่นิยมในการซื้อไปเลี้ยง บางฟาร์มจะอนุบาลลูกปลาถึง 30-35วันจะได้ปลาเซ็น(ขนาด3-5 ซม.) การอนุบาลทำได้ 2แบบคือ อนุบาลในบ่อคอนกรีตและบ่อดิน
วิธีการเลี้ยงและการให้อาหาร
บ่อเลี้ยงปลาดุกควรพิจารณาเป็นพิเศษ แตกต่างจากการเลี้ยงปลาชนิดอื่น ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากปลาดุกมีนิสัยชอบหนีออกจากบ่อเลี้ยง โดยเฉพาะขณะที่ฝนตกน้ำไหลลงในบ่อ ปลาจะว่ายทวนน้ำออกไป การป้องกันโดยการล้อมขอบบ่อด้วยตาข่ายไนล่อนก่อน ซึ่งให้มีความสูงประมาณ 50 ซม. อัตราการปล่อยในเนื้อที่ 1 ตารางเมตร ควรปล่อยปลาประมาณ 60 ตัว สำหรับบ่อปลาที่มีการถ่ายเทน้ำได้สะดวก จะเพิ่มจำนวนปลาให้มากกว่านี้เล็กน้อยก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยปลาให้แน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาโตช้าและทำอันตรายกันเอง

อาหาร
ปลาดุกเป็นปลาที่มีนิสัยการกินอาหารได้ทั้งเนื้อและพืช ซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้
1.อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมตามที่จะหาได้ หรือเครื่องในสัตว์ตลอดจนเลือดสัตว์ และพวกแมลง เช่น ปลวก หนอน ไส้เดือนฯลฯ
2.อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง ข้าวโพด และผักต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มอาหาร อาจให้มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลหมู มูลสัตว์เหล่านี้จะเป็นอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ปลาดุกได้เป็นอย่างดี
โดยทั่วไปแล้วปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ มากกว่าอาหารประเภทพืช แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว จะทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ได้สัดส่วน เช่น อาจทำให้ตัวอ้วนสั้น มีไขมันมากเกินไป ดังนั้น เพื่อให้ปลาโตได้สัดส่วนมีน้ำหนักดี ควรให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 % ของอาหารประเภทพืชบริเวณที่ให้อาหารในแต่ละครั้งควรให้อาหารในที่เดียวกัน และควรให้อาหารเป็นเวลา เพื่อฝึกให้ปลารู้เวลาและกินอาหารเป็นที่ ปริมาณการให้อาหารควรให้อาหาร 5 % ของน้ำหนักตัวต่อวันปัจจุบันการเลี้ยงปลาดุกจะใช้อาหารสำเร็จรูปและจะเสริมพวกอาหารสด เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าอาหาร และทำให้ปลาโตเร็ว แต่ข้อเสียของการให้อาหารสดคือ จะทำให้น้ำเสียได้ง่าย ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ ประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง


การแปรรูป นิยมนำมาทอด ในรูปปลาแดดเดียว ปลาเค็ม
ส่วนผสม
ปลาทั้งตัว 10 กิโลกรัม
เกลือ 1 กิโลกรัม
น้ำ 9 กิโลกรัม
วิธีทำ
1.ตัดหัว ควักไส้ปลา ล้างสะอาด แล้วบั้งทั้งตัว ข้างละ 3-4 รอย
2.เกลือผสมน้ำให้ละลาย แช่ปลาในน้ำเกลือ ประมาณ 30 นาที
3.นำปลาไปตากแดด 5 -8 ชั่วโมง ถ้าต้องการปลาเค็มไว้รับทานนานๆ ควรตากให้แห้งสนิท

ไม่มีความคิดเห็น: